ประวัติปลาฉลามหัวค้อน
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ไฟลัมย่อย Vertebrata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii
อันดับใหญ่ Selachimorpha
ในบรรดาปลาฉลามที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 350 ชนิดนี้ ปลาฉลามหัวค้อนหรืออ้ายแบ้ (Hammerhead sharks) นับเป็นปลา- ฉลามที่มีรูปร่างแปลกสะดุดตามากกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนหัวที่แบนและยื่น ยาวออกเป็นก้านคล้ายปีกสองข้างหัว จึงดูคล้ายหัวค้อนที่ใช้ตอกตะปู ตา แยกห่างออกจากกันอยู่ตรงปลายสุดของปีกที่ยื่นยาวออกไป ปลาฉลาม หัวค้อนจัดอยู่ในวงศ์ Sphyrnidae มีจำนวนทั้งสิ้น 9 ชนิด จัดอยู่ใน 2 สกุล คือสกุล Eusphyra 1 ชนิด และที่เหลืออีก 8 ชนิดอยู่ในสกุล Sphyrna ชนิดที่ พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii) และปลาฉลามหัวค้อนสั้น (Sphyrna tudes) ส่วนชนิดอื่นๆ ที่น่าจะพบใน น่านน้ำไทยในอนาคต เช่น ปลาฉลามหัวค้อนหยัก (Sphyrna lewini) และ ปลาฉลามหัวค้อนยักษ์ (Sphyrna mokarran)
ปลาฉลามหัวค้อนแบ่งออกตามขนาดลำตัวได้เป็นชนิดเล็ก 5 ชนิด มี ขนาดลำตัวยาวไม่เกิน 1.5 เมตร และชนิดใหญ่อีก 4 ชนิด มีขนาดลำตัวยาว 3.5 เมตร หรืออาจยาวกว่า 5 เมตร ลำตัวด้านหลังมีสีขาวบรอนซ์ สี เทาอมน้ำตาล จนถึงสีคล้ำเกือบดำ ใต้ท้องสีจางกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเขต ร้อนและทะเลเขตอบอุ่นที่อุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ บริเวณชายฝั่งทวีปและเกาะลงไปจนถึงระดับน้ำลึกถึง 275 เมตร ส่วนใหญ่ ชอบอยู่นอกแนวปะการังในน้ำลึกหรือในมหาสมุทร มีนิสัยชอบว่ายน้ำ ไปมาอยู่เกือบตลอดเวลา วันหนึ่งๆ ว่ายน้ำได้ไกล อาหารได้แก่ ปลากระดูก- แข็ง ปลาฉลาม ปลากระเบน หมึกทะเล ปู กุ้ง ฯลฯ บางชนิดชอบกินหมึก ทะเลมากเป็นพิเศษ
ส่วนหัวที่มีลักษณะแบนราบและแผ่ออกคล้ายปีกทั้งสองข้าง ช่วย ทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทางด้านหน้า ช่วยให้พุ่งตัวขึ้นตามแนวตั้งได้รวดเร็ว ยังใช้รับความรู้สึกบางอย่างและยังช่วยลดแรงต้านของน้ำให้เหลือน้อย ที่สุดในเวลาเอี้ยวหัวไปมา จึงสะดวกในการไล่งับเหยื่อที่ว่องไวได้ดี
ปลาฉลามหัวค้อนทุกชนิดออกลูกเป็นตัว มีลูกครอกละ 4-37 ตัว การ ผสมพันธุ์เกิดก่อนไข่ตกในรังไข่ประมาณ 2 เดือน ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อไว้ใน ต่อมสร้างเปลือกไข่ ไข่เจริญมาจากรังไข่ข้างขวาที่จะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ลูกอ่อนในมดลูกได้รับออกซิเจนและอาหารจากถุงไข่แดงและจากพู่เหงือก ซึ่งจะหดหายไปเมื่อโตขึ้นมา
ในบรรดาปลาฉลามหัวค้อน 9 ชนิด มีเพียง 3 ชนิดที่พบว่า มีอันตราย ต่อมนุษย์ ได้แก่ ปลาฉลามหัวค้อนหยัก ปลาฉลามหัวค้อนยักษ์และปลา ฉลามหัวค้อนดำ (Sphyrna zygaena) เพราะมีลำตัวขนาดใหญ่และมีนิสัย ชอบเข้าทำร้ายมนุษย์ทั้งเมื่อถูกรบกวนและไม่ถูกรบกวน