top of page
image.png

ปลาฉลามก็๋อบลิน

เป็นปลาฉลามน้ำลึกที่พบเห็นตัวได้ยาก และมีรูปร่างลักษณะประหลาด อันเป็นที่มาของชื่อและยังเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในวงศ์และสกุลเดียวกันนี้ก็ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างแทบไม่แปรเปลี่ยนไปจากยุคก่อนประวัติศาสตร์

โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นมาจากชื่อของ คะคิชิ มิตซุคุริ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งเป็นผู้ที่นำตัวอย่างที่ได้รับจาก อลัน โอลสตัน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ มอบให้แก่ เดวิด สตารร์ จอร์แดน ซึ่งเป็นผู้อนุกรมวิธาน ดังนั้นชื่อวิทยาศาสตร์จึงถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้แก่บุคคลทั้งสองท่านนี้[3] ขณะที่ชื่อสามัญอาจจะแปลได้ว่ามาจากคำว่า "เท็งงุ" (ญี่ปุ่น: 天狗) ซึ่งเป็นปีศาจในความเชื่อของญี่ปุ่นโบราณ ที่มีใบหน้าสีแดงและจมูกแหลมยาวปลาฉลามก็อบลิน มีความยาวเต็มที่ได้ 3 หรือ 4 เมตร (10 และ 13 ฟุต) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึกได้มากกว่า 100 เมตร (330 ฟุต) ซึ่งเป็นที่ ๆ แสงส่องลงไปไม่ถึง พบชุกชุมที่โตเกียวแคนยอน ซึ่งเป็นหุบผาลึกใต้ทะเลในพื้นที่อ่าวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยปกติแล้วจะมีลำตัวและครีบสีขาว แต่เมื่อถูกจับขึ้นมาจากน้ำลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเหมือนเลือด[6] ปลาฉลามก็อบลินมีลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวด้านบนที่มีส่วนกระดูกที่ยื่นแหลมออกไปข้างหน้าเหนือกรามบน ในปากเต็มไปด้วยฟันที่แหลมคม ซึ่งส่วนหัวที่ยื่นยาวออกไปนั้น ด้านล่างประกอบไปด้วยอวัยวะเล็ก ๆ หลายร้อยอันที่ทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่จับได้แม้กระทั่งคลื่นไฟฟ้าอ่อนถึง 1 ในล้านโวลต์ เพื่ออาหารซึ่งได้แก่ ปู หรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่หลบซ่อนตัวลงในพื้นโคลนใต้ทะเล ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ หาอาหารได้ยากยิ่ง อีกทั้งกรามยังมีกระดูกขากรรไกรที่เหมือนบานพับที่สามารถขยายออกมาเพื่อพุ่งงับเหยื่อมิให้หลุดไปได้อีกด้วย เมื่อพบเหยื่อแล้วจะใช้กรามที่ยื่นออกมานี้งับเหยื่อไว้ก่อนและค่อยดึงกลับเข้ามา โดยนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเหตุที่ต้องมีกรามเช่นนี้เพื่อชดเชยส่วนที่อ่อนแอของร่ายกาย เนื่องจากปลาฉลามก็อบลินไม่มีครีบหรืออวัยวะใด ๆ ที่ทำให้ว่ายน้ำเร็ว ปลาฉลามก็อบลินจัดได้ว่าเป็นปลาฉลามชนิดที่ว่ายน้ำได้แย่มาก และเชื่อว่าปลาฉลามก็อบลินเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะขยายพันธุ์ในที่ ๆ มีอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนอุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่พักเลี้ยง ส่วนปลาที่โตเต็มที่แล้วจะว่ายห่างออกไปเพื่อให้ตัวอ่อนได้มีอาหารที่เพียงพอ มิต้องแย่งกัน เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

ปลาฉลามก็อบลิน ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1873-76 จากการสำรวจของเรือเอชเอ็มเอส ชาเลนเจอร์ ที่สำรวจทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงเก็บรวบรวมตัวอย่างของปลาฉลามชนิดต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย โดยปลาฉลามก็อบลินถูกค้นพบที่นอกชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นเวลาอีกหลายปีต่อมาจึงถูกอนุกรมวิธานทางวิทยาศาสตร์

จนถึงปัจจุบัน ปลาฉลามก็อบลินมีรายงานการพบตัวทั่วโลกประมาณ 30 ครั้งเท่านั้น แต่ชาวประมงชาวญี่ปุ่นที่จับปลาที่โตเกียวแคนยอนจับปลาฉลามก็อบลินได้มากถึง 148 ตัว โดยจับได้ตัวแรกในปี ค.ศ. 1995 และยังเคยจับปลาฉลามก็อบลินในวัยอ่อนที่ส่วนของกรามยังไม่ยื่นออกมาได้อีกด้วย ส่วนปลาฉลามก็อบลินที่ยังชีวิตมีไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แต่ก็มีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ตัวหนึ่งถูกเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยโตโกมีอายุได้เพียงสัปดาห์เดียว และอีกตัวหนึ่งถูกเก็บไว้ที่โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค แต่ก็มีอยู่ได้เพียง 2 วัน

bottom of page