top of page
ดุก.jpg

ปลาดุก

ปลาดุก เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Clarias (/คลา-เรียส/) ในวงศ์ Clariidae โดยคำว่า Clarias มาจากภาษากรีกคำว่า chlaros หมายถึง "มีชีวิต" มีความหมายถึง การที่ปลาสกุลนี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้บนบกหรือสภาพที่ขาดน้ำ

มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดนิ้ว มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย

ปลาดุกที่พบในประเทศไทย

ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย
และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ท าให้สามารถ
ขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่ส าหรับ
ผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี

ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus )
เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก สีของผิวหนัง
ค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของล าตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ล า
คัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

ปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus )
สีของล าตัวค่อนข้างคล่ าเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของ
กระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง ได้ดำเนินการ
ศึกษาถึงสายพันธุ์ปลาดุกที่มีการนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศ พบว่าเป็นปลาในตระกูล catfish เช่นเดียวกับ
ปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็น
ปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคแล ะสภาพ
แวดล้อมสูง เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่า
รับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่า “ ปลาดุกเทศ ”
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
ปลาดุกจะพบ แพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย
ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนามและมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่ว
ทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้
เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถด ารงชีวิตอยู่ได้
ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะนิสัยของปลาดุก
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4
คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่
ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิด
อื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ าที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมี
อวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้า
นำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหาร
บริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน

bottom of page